ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

ระบบสุริยะ(Solar System)

ระบบสุริยะ Solar system หมายถึง ระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศุนย์กลาง แล้วมีดาวเคราะห์ล้อมรอบ ระบที่เราสังกัดอยู่ คือในกาแล็กซี่ทางช้างเผือก มีดาวเคราะห์ 8 ดวง คือ พุธ ศุกร์ โลก อังคาร พฤหัสบดี เสาร์ ยูเรนัส เนปจูน
ยังเป็นระบบที่ประกอบด้วย ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย อุกกาบาตเป็นระบบที่โลกของเราอยู่ซึ่งระบบนี้อยู่ในกาแล็คซี่ทางช้างเผือก มีดาวเคราะห์ในระบบมากมายทั้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเล็กที่สุด ทั้งที่ได้มีการศึกษาแล้วและยังไม่สามารถศึกษาได้อาจเป็นเพราะระยะทางหรือสภาวะแวดล้อมของดาวนั้นๆ
กำเนิดระบบสุริยะ
มวลของระบบสุริยะกว่าร้อยละ 99.8 อยูที่ดวงอาทิตย์ ดังนั้นการเกิดของระบบสุริยะ จากเนบิวลามวลส่วนใหญ่กลายเป็นดวงอาทิตย์

ระบบสุริยะมีขนาดเล็กกว่าเมื่อเทียบกับขนาดของเอกภพ แต่มีขนาดใหญ่โตมากหากแลดูจากโลก แต่จากกล้องโทรทัศน์และภารกิจต่างๆ ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถรวบรวมข้อมูลเพื่อช่วยอธิบายการกำเนิดของระบบสุริยะ นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายเชื่อว่า เมื่อประมาณ 5,000ล้านปีที่แล้ว ระบบสุริยะเกิดขึ้นตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. หมอกไฟต้นกำเนิด-(เนบิวลา) แยกตัวออกจากกลุ่มหมอกขนาดใหญ่กว่ากาแล็กซี่ทางช้างเผือก เพื่อก่อตัวขึ้นเป้นระบบสุริยะ การดึงของแรงโน้มถ่วงในบริเวณศุนย์กลางของกลุ่มหมอกเมฆได้ดึงเอาสารต่างๆเข้าสู่ด้านใน ทำให้กลุ่มหมอกเมฆมีขนาดเล็กลงและหมุนไปรอบๆ
2.แผ่นจานที่กำลังหมุนตัว-สสารที่อยู่ตรงกลางมีการอัดแน่นมากขึ้น ต่อมากลายเป็นดวงอาทิตย์ แก๊สและละอองธุลีที่ล้อมรอบส่วนนูนตรงกลางของกลุ่มหมอกเมฆได้แฟบลงจนกลายเป็นแผ่นจาน...ขนาดใหญ่ด้วย
3.การเกิดดาวเคราะห์น้อยยิ่ง-ในขณะใจกลางร้อนขึ้น รอบนอกแข็งตัวจับกันเป็นอนุภาค เป็นดาวเคราะห์น้อยๆประกอบด้วยโลหะเป้นส่วนใหญ่เช่น เหล็ก นิกเกิล หิน และน้ำแข็ง
4. การชนกันของดาวเคราะห์น้อยยิ่ง-ทำให้เกิดการรวมตัวใหญ่ขึ้น
5.การก่อตัวของดาวเคราะห์ยุคแรก-ดาวเคราะห์น้อยยิ่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบางดวง สามารถรวมสสารเปลี่ยเป็นดาวเคราะห์ยุคแรกได้ ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวง
6.การก่อตัวของดวงจันทร์- มีวิธีการคล้ายกับข้อ5.คล้ายการก่อตัวของดาวเคราะห์ กล่าวคือ ดาวเคราะห์ดวงน้อยยิ่งที่หลงเหลืออยู่บางส่วน ลงเอยด้วยการไปโคจรรอบดาวเคราะห์ เป็นบริวาลของดาวเคราะห์ไปนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น