ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

ดวงจันทร์ใกล้โลกและดาวอังคารไม่เคยใกล้โลก

ปรากฏการณ์ ดาวอังคารใกล้โลกนี้ เกิดขึ้นเมื่อวาน ตอนหัวค่ำ
หวนกลับมาอีกแล้วแล้ว ทุกๆ 2 ปี 2 เดือน ดาวอังคารกับโลกจะมาอยู่ใกล้กันอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ก็ยังไม่ใช่ครั้งที่ใกล้โลกที่สุด เพราะยังไม่มีครั้งไหนที่ดาวอังคารจะเข้ามาใกล้ๆได้เหมือนเมื่อครั้งที่โด่ง ดังในวันที่ 27 สิงหาคม 2546 ซึ่งจัดว่าใกล้ที่สุดในรอบหลายหมื่นปีทำให้ดาวอังคารใกล้โลกในปีนั้นได้รับ ความสนใจอย่างมากจากสถาบันการศึกษาและผู้สนใจเรื่องดาราศาสตร์ทุกคน กว่าจะให้เข้ามาใกล้เหมือนเมื่อปี พศ.2546 อีกต้องรอถึงปี พศ.2561

สำหรับดาวอังคารใกล้โลกในปีนี้ตรงกับวันที่ 27 มกราคม พศ.2553 ขึ้น 12 ค่ำ ดวงจันทร์อยู่แถวกลุ่มดาวคนคู่ ซึ่งอยู่ไม่ไกลแสงจันทร์อาจจะรบกวนท้องฟ้าบ้างพอสมควร แต่เราก็ยังสามารถเห็นดาวอังคารได้ง่าย โดยจะมองเห็นขึ้นขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกตั้งแต่หัวค่ำ มีความสว่างช่วงนั้นอยู่ที่ แมกนิจูด -1.3 ขนาดกว้างเชิงมุม 14 arcsec อยู่ในกลุ่มดาวปู ขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับปีก่อนๆที่ผ่านมา การสังเกตด้วยกล้องโทรทัศน์จึงต้องใช้กำลังขยายสูงพอสมควร และในวันที่ 29 มกราคม ดาวอังคารจึงจะมาอยู่ที่ตำแหน่ง Opposition หรือตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ ดังนั้นการเฝ้าสังเกตหรือจัดกิจกรรมดูดาวอังคารจึงไม่จำเป็นต้องใช้วันที่ 27 มกราคมวันเดียว เราสามารถดูก่อนหรือหลังวันนี้ได้ 2-3 วัน




เมื่อวานนี้นะครับ เกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ทำให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลงมากกว่าวันอื่นๆ คนไทยมักเรียกวันนี้ว่า วันพระใหญ่ โดยทุกคนสามารถเห็นดวงจันทร์ดวงใหญ่กว่าปกติ โดยเฉพาะเวลา 23.00-24.00 น. จะเห็นดวงจันทร์กลมโตสุกสว่าง โดยดวงจันทร์ดังกล่าวจะมีความกว้างของเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 33.5 ลิปดา ซึ่งต่างจากดวงจันทร์ปกติที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 30 ลิปดา อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ดวงจันทร์ใกล้โลกจะเกิดขึ้นเดือนละ 1 ครั้ง เพียงแต่ระยะห่างจากโลกที่ทำให้เห็นดวงจันทร์กลมโตสุกสว่างจะแตกต่างกัน ซึ่งครั้งนี้ถือว่าดวงจันทร์มีลักษณะโตที่สุด โดยครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อ 15 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าหลังจากนี้จะเกิดขึ้นอีกประมาณ 15-18 ปี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น