ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

ดวงจันทร์ใกล้โลกและดาวอังคารไม่เคยใกล้โลก

ปรากฏการณ์ ดาวอังคารใกล้โลกนี้ เกิดขึ้นเมื่อวาน ตอนหัวค่ำ
หวนกลับมาอีกแล้วแล้ว ทุกๆ 2 ปี 2 เดือน ดาวอังคารกับโลกจะมาอยู่ใกล้กันอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ก็ยังไม่ใช่ครั้งที่ใกล้โลกที่สุด เพราะยังไม่มีครั้งไหนที่ดาวอังคารจะเข้ามาใกล้ๆได้เหมือนเมื่อครั้งที่โด่ง ดังในวันที่ 27 สิงหาคม 2546 ซึ่งจัดว่าใกล้ที่สุดในรอบหลายหมื่นปีทำให้ดาวอังคารใกล้โลกในปีนั้นได้รับ ความสนใจอย่างมากจากสถาบันการศึกษาและผู้สนใจเรื่องดาราศาสตร์ทุกคน กว่าจะให้เข้ามาใกล้เหมือนเมื่อปี พศ.2546 อีกต้องรอถึงปี พศ.2561

สำหรับดาวอังคารใกล้โลกในปีนี้ตรงกับวันที่ 27 มกราคม พศ.2553 ขึ้น 12 ค่ำ ดวงจันทร์อยู่แถวกลุ่มดาวคนคู่ ซึ่งอยู่ไม่ไกลแสงจันทร์อาจจะรบกวนท้องฟ้าบ้างพอสมควร แต่เราก็ยังสามารถเห็นดาวอังคารได้ง่าย โดยจะมองเห็นขึ้นขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกตั้งแต่หัวค่ำ มีความสว่างช่วงนั้นอยู่ที่ แมกนิจูด -1.3 ขนาดกว้างเชิงมุม 14 arcsec อยู่ในกลุ่มดาวปู ขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับปีก่อนๆที่ผ่านมา การสังเกตด้วยกล้องโทรทัศน์จึงต้องใช้กำลังขยายสูงพอสมควร และในวันที่ 29 มกราคม ดาวอังคารจึงจะมาอยู่ที่ตำแหน่ง Opposition หรือตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ ดังนั้นการเฝ้าสังเกตหรือจัดกิจกรรมดูดาวอังคารจึงไม่จำเป็นต้องใช้วันที่ 27 มกราคมวันเดียว เราสามารถดูก่อนหรือหลังวันนี้ได้ 2-3 วัน




เมื่อวานนี้นะครับ เกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ทำให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลงมากกว่าวันอื่นๆ คนไทยมักเรียกวันนี้ว่า วันพระใหญ่ โดยทุกคนสามารถเห็นดวงจันทร์ดวงใหญ่กว่าปกติ โดยเฉพาะเวลา 23.00-24.00 น. จะเห็นดวงจันทร์กลมโตสุกสว่าง โดยดวงจันทร์ดังกล่าวจะมีความกว้างของเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 33.5 ลิปดา ซึ่งต่างจากดวงจันทร์ปกติที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 30 ลิปดา อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ดวงจันทร์ใกล้โลกจะเกิดขึ้นเดือนละ 1 ครั้ง เพียงแต่ระยะห่างจากโลกที่ทำให้เห็นดวงจันทร์กลมโตสุกสว่างจะแตกต่างกัน ซึ่งครั้งนี้ถือว่าดวงจันทร์มีลักษณะโตที่สุด โดยครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อ 15 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าหลังจากนี้จะเกิดขึ้นอีกประมาณ 15-18 ปี


วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

Sherlock Holms นักสืบต้นแบบ

อาชีพของเชอร์ล็อก โฮล์มส์
โฮลมส์ทำงานเพียงอย่างเดียว คือ เป็นนักสืบเชลยศักดิ์ หมายถึง เป็นนักสืบเอกชนที่ทำงานตามการว่าจ้างเป็นคราวๆ ไป อย่างไรก็ดี มีหลายครั้งที่โฮลมส์ทำคดีเพื่อช่วยเหลือเพื่อนตำรวจที่สก๊อตแลนด์ยาร์ด หรือเพื่อความบันเทิงส่วนตัว ลูกค้าส่วนใหญ่ของโฮลมส์เป็นผู้มีสตางค์ โฮลมส์จึงได้รับค่าจ้างอย่างงามจนสามารถใช้ชีวิตอย่างสบาย หมอวัตสันเคยเล่าไว้ในตอน ซ้อนกล เมื่อตอนที่เขาย้ายออกไปจากบ้านเช่า และโฮลมส์อาศัยอยู่เพียงลำพังว่า เงินค่าเช่าที่โฮลมส์จ่ายมิสซิสฮัดสันนั้นมากพอจะซื้อตึกหลังนั้นได้เลยที เดียว

หมอวัตสันเคยประเมินทักษะต่าง ๆ ของโฮล์มส์ไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
ความรู้ด้านวรรณกรรม — ไม่มี
ความรู้ด้านปรัชญา — ไม่มี
ความรู้ทางดาราศาสตร์ — ไม่มี
ความรู้ด้านการเมือง — น้อยมาก
ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์ — ไม่แน่นอน ชำนาญพิเศษด้านพืชมีพิษและฝิ่น แต่ไม่มีความรู้ด้านการทำสวนเลย
ความรู้ด้านธรณีวิทยา — ชำนาญ แต่มีข้อจำกัด สามารถบอกความแตกต่างระหว่างดินแต่ละชนิด เช่นหลังจากออกไปเดินเล่น สามารถระบุตำแหน่งที่ได้รับรอยเปื้อนดินบนกางเกงได้ว่ามาจากส่วนไหนของ ลอนดอน โดยดูจากสีและลักษณะของดิน
ความรู้ด้านเคมี — ยอดเยี่ยม โฮลมส์ได้รับตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์จากสมาคมเคมีแห่งราชสำนักอังกฤษ
ความรู้ด้านกายวิภาค — แม่นยำ แต่ไม่เป็นระบบ
ความรู้ด้านอาชญวิทยา — กว้างขวาง ดูเหมือนจะรู้จักเหตุสะเทือนขวัญอย่างละเอียดทุกเรื่องในรอบศตวรรษ
เล่นไวโอลินได้ดีมาก และยังเป็นเจ้าของไวโอลินสตราดิวาเรียส อันมีชื่อเสียง
เป็นนักมวยและนักดาบ
มีความรู้กฎหมายอังกฤษเป็นอย่างดี

เทคโนโลยีอวกาศ

เทคโนโลยีอวกาศ

เทคโนโลยีอวกาศ คือการสำรวจสิ่งต่างๆที่อยู่นอกโลกของเราและสำรวจโลกของเราเองด้วย ปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศได้มีการพัฒนาไปเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับสมัยก่อน ทำให้ได้ความรู้ใหม่ๆมากขึ้น โดยองค์การที่มีส่วนมากในการพัฒนาทางด้านนี้คือองค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกาได้มีการจัดทำโครงการขึ้นมากมายทั้งเพื่อการสำรวจดาวที่ต้องการศึกษาโดยเฉพาะและที่ทำขึ้นเพื่อศึกษาสิ่งต่างๆในจักรวาล การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศนั้นมีทั้งด้านการสื่อสาร ทำให้การสื่อสารในปัจจุบันทำได้อย่างรวดเร็ว การสำรวจทรัพยากรโลก ทำให้ทราบว่าปัจจุบันนี้โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง และการพยากรณ์อากาศก็จะทำให้สามารถเตรียมพร้อมที่จะรับกับสถานการณ์ต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไปได้


ระบบการขนส่งอวกาศเป็นโครงการที่ถูกออกแบบให้สามารถนำชิ้นส่วนบางส่วนที่ใช้ ไปแล้วกลับมาใช้ใหม่อีกเพื่อเป็นการประหยัดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ จรวดเชื้อเพลิงแข็ง ถังเชื้อเพลิงภายนอก (สำรองไฮโดรเจนเหลวและออกซิเจนเหลว) และยานอวกาศ


ระบบขนส่งอวกาศมีน้ำหนักรวมเมื่อขึ้นจากฐานปล่อยประมาณ 2,041,200 กิโลกรัม โดยจรวดเชื้อเพลิงแข็งจะถูกขับเคลื่อนจากฐานปล่อยให้นำพาทั้งระบบขึ้นสู่อวกาศด้วยความเร็วที่มากกว่าค่าความเร็วหลุดพ้น เมื่อถึงระดับหนึ่งจรวดเชื้อเพลิงแข็งทั้งสองข้างจะแยกตัวออกมาจากระบบ จากนั้นถังเชื้อเพลิงภายนอกจะแยกตัวออกจากยานอวกาศ โดยตัวยานอวกาศจะเข้าสู่ วงโคจรเพื่อปฏิบัติภารกิจต่อไป ดังรูป


การปฏิบัติภารกิจสำหรับระบบขนส่งอ วกาศมีหลากหลายหน้าที่ ตั้งแต่การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (ในสภาวะไร้น้ำหนัก) การส่งดาวเทียม การประกอบกล้องโทรทรรศน์อวกาศ การส่งมนุษย์ไปบนสถานีอวกาศ ฯลฯ ยานอวกาศจึงถูกออกแบบสำหรับบรรทุกคนได้ประมาณ 7-10 คน ปฏิบัติภารกิจได้นานตั้งแต่ไม่กี่ชั่วโมงหรืออาจใช้เวลาถึง 1 เดือน สำหรับโครงการขนส่งอวกาศขององค์การนาซามีอยู่ด้วยกัน 6 โครงการ คือ

1. โครงการเอนเตอร์ไพรส์

2. โครงการโคลัมเบีย

3. โครงการดิสคัฟเวอรี

4. โครงการแอตแลนติส

5. โครงการแชลแลนเจอร์

6. โครงการเอนเดฟเวอร์

ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันว่าโครงการแชลแลนเจอร์และโครงการโคลัมเบียประสบความ สูญเสียครั้งร้ายแรง เมื่อยานทั้งสองเกิดระเบิดขึ้นขณะอยู่บนท้องฟ้า โดยระบบขนส่งอวกาศแชลแลนเจอร์ระเบิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2529 ระหว่างเดินทางขึ้นสู่อวกาศไม่เพียงกี่นาทีด้วยสาเหตจากการรั่วไหลของก๊าซ เชื้อเพลิงอุณหภูมิสูงจากรอยต่อของจรวดเชื้อเพลิงแข็งด้านขวาของตัวยาน ทำให้ก๊าซอุณหภูมิสูงดังกล่าวลามไปถึงถังเชื้อเพลิงภายนอกที่บรรจุไฮโดรเจน เหลว จึงเกิดการเผาไหม้อย่างรุนแรงและเกิดระเบิดขึ้น คร่าชีวิตนักบินอวกาศ 7 คน ส่วนระบบขนส่งอวกาศโคลัมเบียเกิดระเบิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 (17 ปี หลังการระเบิดของยานแชลแลนเจอร์) โดยวิศวกรนาซาเชื่อว่าอาจเพราะตัวยานมีการใช้งานยาวนานจนอาจทำให้แผ่นกัน ความร้อนที่หุ้มยานชำรุด ทำให้เกิดระเบิดขึ้นหลังจากนักบินกำลังพยายามร่อนลงสู่พื้นโลก แต่ทั้งสองเหตุการณ์ในสหรัฐอเมริกายังไม่ร้ายแรงเท่าเหตุการณ์ระเบิดของจรวด ของสหภาพโซเวียตขณะยังอยู่ที่ฐาน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2503 โดยมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวถึง 165 คน โศกนาฏกรรมเหล่านี้ที่เกิดขึ้นแม้จะทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและ ทรัพย์สิน แต่มนุษย์ก็ยังไม่เลิกล้ มโครงการอวกาศ ยังมีความพยายามคิดและสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อความปลอดภัยและลดค่าใช้จ่ายให้มากขึ้น ด้วยเป้าหมายหลักของโครงการขนส่งอวกาศในอนาคตคือการสร้างสถานีอวกาศถาวรและ การทดลองทางวิทยาศาสตร์อื่นๆ


วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

ชื่อนี้มาได้ยังไง

เรื่องจริงเอามาฝาก... จาก พระยาโมสต์

กล่าวถึงชื่อของผม นั้นคือ ธีรนันท์ มีชื่อเล่นคือ โมสต์
มีครูเรียกผมว่า "ธีร์" ผมก้ขาน (เริ่มมาในช่วงม.1) ต่อมา เมื่อปลายปีนี้ ม.4 ตอนต้น มีครูอีกคนหนึ่ง เรียกผมว่า "นันทื"

ปัจจุบันนี้ก็มีชื่อเรียกใหม่คือหัวหน้า ครับ

กล่าวโดยสรุป ชื่อทั้ง 2 (ธีร์ และ นันท์) มาจากชื่อจริงผมนั่นเอง
ธีร์-(ธีรนันท์)-นันท์

ระบบสุริยะ(Solar System)

ระบบสุริยะ Solar system หมายถึง ระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศุนย์กลาง แล้วมีดาวเคราะห์ล้อมรอบ ระบที่เราสังกัดอยู่ คือในกาแล็กซี่ทางช้างเผือก มีดาวเคราะห์ 8 ดวง คือ พุธ ศุกร์ โลก อังคาร พฤหัสบดี เสาร์ ยูเรนัส เนปจูน
ยังเป็นระบบที่ประกอบด้วย ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย อุกกาบาตเป็นระบบที่โลกของเราอยู่ซึ่งระบบนี้อยู่ในกาแล็คซี่ทางช้างเผือก มีดาวเคราะห์ในระบบมากมายทั้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเล็กที่สุด ทั้งที่ได้มีการศึกษาแล้วและยังไม่สามารถศึกษาได้อาจเป็นเพราะระยะทางหรือสภาวะแวดล้อมของดาวนั้นๆ
กำเนิดระบบสุริยะ
มวลของระบบสุริยะกว่าร้อยละ 99.8 อยูที่ดวงอาทิตย์ ดังนั้นการเกิดของระบบสุริยะ จากเนบิวลามวลส่วนใหญ่กลายเป็นดวงอาทิตย์

ระบบสุริยะมีขนาดเล็กกว่าเมื่อเทียบกับขนาดของเอกภพ แต่มีขนาดใหญ่โตมากหากแลดูจากโลก แต่จากกล้องโทรทัศน์และภารกิจต่างๆ ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถรวบรวมข้อมูลเพื่อช่วยอธิบายการกำเนิดของระบบสุริยะ นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายเชื่อว่า เมื่อประมาณ 5,000ล้านปีที่แล้ว ระบบสุริยะเกิดขึ้นตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. หมอกไฟต้นกำเนิด-(เนบิวลา) แยกตัวออกจากกลุ่มหมอกขนาดใหญ่กว่ากาแล็กซี่ทางช้างเผือก เพื่อก่อตัวขึ้นเป้นระบบสุริยะ การดึงของแรงโน้มถ่วงในบริเวณศุนย์กลางของกลุ่มหมอกเมฆได้ดึงเอาสารต่างๆเข้าสู่ด้านใน ทำให้กลุ่มหมอกเมฆมีขนาดเล็กลงและหมุนไปรอบๆ
2.แผ่นจานที่กำลังหมุนตัว-สสารที่อยู่ตรงกลางมีการอัดแน่นมากขึ้น ต่อมากลายเป็นดวงอาทิตย์ แก๊สและละอองธุลีที่ล้อมรอบส่วนนูนตรงกลางของกลุ่มหมอกเมฆได้แฟบลงจนกลายเป็นแผ่นจาน...ขนาดใหญ่ด้วย
3.การเกิดดาวเคราะห์น้อยยิ่ง-ในขณะใจกลางร้อนขึ้น รอบนอกแข็งตัวจับกันเป็นอนุภาค เป็นดาวเคราะห์น้อยๆประกอบด้วยโลหะเป้นส่วนใหญ่เช่น เหล็ก นิกเกิล หิน และน้ำแข็ง
4. การชนกันของดาวเคราะห์น้อยยิ่ง-ทำให้เกิดการรวมตัวใหญ่ขึ้น
5.การก่อตัวของดาวเคราะห์ยุคแรก-ดาวเคราะห์น้อยยิ่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบางดวง สามารถรวมสสารเปลี่ยเป็นดาวเคราะห์ยุคแรกได้ ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวง
6.การก่อตัวของดวงจันทร์- มีวิธีการคล้ายกับข้อ5.คล้ายการก่อตัวของดาวเคราะห์ กล่าวคือ ดาวเคราะห์ดวงน้อยยิ่งที่หลงเหลืออยู่บางส่วน ลงเอยด้วยการไปโคจรรอบดาวเคราะห์ เป็นบริวาลของดาวเคราะห์ไปนั่นเอง